สารหน่วงการติดไฟ (Flame Retardant)

ผ้าหรือเครื่องนุ่งห่มที่ทำจากเส้นใยฝ้ายเป็นผ้าที่มีการใช้อย่างแพร่หลาย เนื่องจากผ้าฝ้ายสามารถดูดซับเหงื่อและความชื้นจากร่างกายได้ดี ทำให้สวมใส่สบายดังนั้น ผ้าฝ้ายจึงถูกนำมาผลิตเป็นเครื่องนุ่งห่มหลายชนิดทั้งเครื่องนุ่งห่มที่ใช้ในชีวิตประจำวันทั่วไป รวมถึงเครื่องนุ่งห่มที่ใช้ในงานเฉพาะกิจต่างๆ เช่น ชุดทำงานสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม (Industrial Work Wear) หรือผู้ที่ต้องทำงานในสภาวะที่ต้องเจอกับความร้อนและสะเก็ดไฟ หรือชุดผจญเพลิง แต่ด้วยสาเหตุที่ผ้าฝ่ายติดไฟง่าย ดังนั้น การตกแต่งให้ผ้าฝ้ายมีคุณสมบัติหน่วงการติดไฟ (Flame Retardant) สำหรับนำไปใช้ทำเครื่องนุ่งห่มที่ใช้ในงานเฉพาะกิจข้างต้นนั้น จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก

ประเภทของสารหน่วงการติดไฟ (Flame Retardant)

 สารหน่วงการติดไฟแบ่งตามองค์ประกอบทางเคมีได้ 5 ประเภท คือ

  1. สารหน่วงการติดไฟที่เป็นสารประกอบโบรมีน (Brominated Flame Retardants)
  2. สารหน่วงการติดไฟที่เป็นสารประกอบคลอรีน (Chlorinated Flame Retardants)
  3. สารหน่วงการติดไฟที่มีฟอสฟอรัสเป็นส่วนประกอบ (Phosphorus containing Flame Retardant)
  4. สารหน่วงการติดไฟที่มีไนโตรเจนเป็นส่วนประกอบ (Nitrogen containing Flame Retardant)
  5. สารหน่วงการติดไฟที่เป็นสารอนินทรีย์ (Inorganic Flame Retardant)

รูปแสดง ปริมาณการใช้งานของสารหน่วงการติดไฟกลุ่มต่างๆ

การใช้สารหน่วงไฟในทางสิ่งทอ

ส่วนใหญ่จะเป็นผ้าผืน ซึ่งเรามักจะเรียกว่า ผ้ากันไฟ (Flame Retardant) โดยจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

(1) การเคลือบสารเคมีในเส้นใยก่อนที่จะนำไปทอผ้า

(2) การเคลือบสารเคมีในขั้นตอนสุดท้ายของการผลิตเป็นผืนผ้าแล้ว

ซึ่งการเคลือบสารในประเภทแรก จะมีมาตรฐานกันไฟได้ดีกว่าประเภทหลัง

ผ้ากันไฟไม่ได้หมายความว่า ไม่ติดไฟ แต่จะมีลักษณะเหมือนจุดบุหรี่ จะไม่เกิดการลามของเปลวไฟ จะเหลือแค่ขี้เถ้า การกันไฟจะดีหรือไม่ดีจะขึ้นอยู่กับระยะเวลา (วินาที) และระยะทาง (เซนติเมตร) ในระหว่างการเผาไหม้
ในปัจจุบัน เริ่มนิยมใช้ผ้ากันไฟใน โรงแรม โรงพยาบาล โรงภาพยนตร์ บ้างแล้ว

การเลือกใช้สารหน่วงการติดไฟมักขึ้นอยู่กับการใช้งาน ชนิดของวัสดุ ราคา ความสามารถในการนำกลับมาใช้ใหม่ได้ และคำนึงถึงมาตรฐานความปลอดภัย นอกจากนี้คือ

  1. จะต้องแสดงความเป็น Flame Retardant ได้สูง
  2. จะต้องทนต่อการซักล้างได้ดี
  3. จะต้องใช้ง่ายในกระบวนการหรือเครื่องจักรทั่วไป
  4. มีผลต่อผิวสัมผัสของวัสดุน้อย
  5. ไม่มีผลทำให้ผ้าเหลือง
  6. สามารถใช้ร่วมกับสารอื่นได้
  7. ต้องไม่เป็นอันตรายต่อผิวหนัง และการถ่ายเทอากาศของผ้าไม่ลดลงมากเกินไป
  8. ไม่เกิดการ Decompose ให้ก๊าซที่เป็นพิษ
  9. ความแข็งแรงของผ้าไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก

รูปตัวอย่างผ้ากันไฟ (Flame Retardant)

สำหรับการผลิตชิ้นส่วนพลาสติกควรเลือกใช้สารหน่วงการติดไฟ (Flame Retardant) ที่ผสมเป็นเนื้อเดียวกันกับพลาสติกได้ และไม่ควรสลายตัวด้วยความร้อนจากกระบวนการขึ้นรูป วัสดุที่มักมีการหน่วงสารติดไฟ ได้แก่ วัสดุก่อสร้าง ชิ้นส่วนยานยนต์ ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และเฟอร์นีเจอร์ เป็นต้น

 

ตัวอย่างสารหน่วงการติดไฟ (Flame Retardant) ของบริษัท

Apcoflame FR-C                  เป็นสารหน่วงไฟในกลุ่ม Organic phosphorus compound

 

Reference:

ดร.ธนาวี ลี้จากภัย. 2546. สารหน่วงการติดไฟ. (ออนไลน์) แหล่งที่มา:

https://www.mtec.or.th/

รูปตัวอย่างผ้ากันไฟ. (ออนไลน์) แหล่งที่มา:

http://2b1international.com/